วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เครื่องปั้นดินเผา


ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผา
      
               เครื่องปั้นดินเผานั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ ซึ้งแต่เดิมคงทำขึ้นเพื่อเป็นภาชนะใส่อาหารและน้ำ ต่อมามนุษย์ก็พัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้มีคุณภาพดีขึ้นและประโยชน์ใช้สอยของเครื่องปั้นดินเผาก็เพิ่มขึ้นตามลำดับเช่นกัน
              สันนิษฐานกันว่าเครื่องปั้นดินเผาในยุคแรกๆ อยู่ในช่วงเวลาราวๆ 1500 BC ก่อนคริสตกาล ได้พบหลักฐานผลิตภัณฑ์ประเภทอิฐ (ใช้ในการก่อสร้างครั้งแรกที่ประเทศบาบีโลเนีย เอสซีเรีย อียิปต์ และประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งในแถบนี้มีความก้าวหน้าในเรื่องเครื่องปั้นดินเผากันมาก รู้จักวิธีใช้ดินแดง ดินดำ ดินขาว มาตกแต่งผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะประเทศจีนมีความก้าวหน้าดีพอสมควร
              ประวัติเครื่องปั้นดินเผาของจีนเริ่มในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องปั้นดินเผายังไม่มีการเคลือบ แต่ต่อมาก็มีการเคลือบเกิดขึ้นทั้งชนิดเคลือบตะกั่ว และเคลือบด่าง
             ในราชวงศ์ถังมีการทำเคลือบได้หลายๆ สี ในสมัยซ้องสมัยย่วนและมิง มีการเคลือบแบบกังใสอีกด้วย (เคลือบปอร์สเลนที่เผาอุณหภูมิสูงมีการเคลือบสีแดงครั้งแรกเกิดขึ้นและจีนได้ประสบความสำเร็จในการทำเคลือบสีต่างๆ สีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นคือ แดง น้ำเงิน และเขียว
              ส่วนในประเทศยุโรปก็ได้ทำเครื่องปั้นดินเผานานมาแล้ว ประเทศแรกที่ให้ความสนใจมากคือ อิตาลี ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดเนื้อหยาบและมีความพรุนตัวสูง เรียกว่า เมโจริก้า ต่อมาฝรั่งเศสก็ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาลักษณะเช่นเดียวกับอิตาลี เรียกว่า แฟร์ออง อยู่ในราวศตวรรษที่ 17 ชาวยุโรปพยายามทำปอร์สเลนแบบจีน แต่เนื่องจากใช้ดินแดงทำจึงไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมายุโรปได้พบดินขาวชนิดเกาลินขึ้น จึงตั้งชื่อว่า CHINA STONE ต่อมาโจเฮ็น เปรดดริค โบสเจอร์ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาปอร์สเลนจนสำเร็จ และได้ตั้งโรงงานขึ้นเป็นครั้งแรก
             ช่างที่ทำด้วยชามสังคโลกขึ้นเป็นครั้งแรกคือคนจีน ในประเทศไทยมีเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ เครื่องสังคโลกมีลักษณะเหมือนถ้วยชามของจีนในสมัยปลายแผ่นดินซ้อง เป็นชนิดเคลือบทึบ ต่อมาเมื่อสุโขทัยอยู่ภายใต้อยุธยา ฝีมือการทำเครื่องปั้นดินเผาก็เสื่อมลงเป็นแค่การปั้นดินหยาบๆ  เท่านั้นปัจจุบันการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นที่สนใจอย่างแพร่หลาย มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำเครื่องปั้นดินเผาเกิดขึ้นหลายแห่งส่วนหน่วยงานรัฐบาลที่ช่วยส่งเสริมค้นคว้าวิจัยได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและศูนย์วิจัยเครื่องปั้นดินเผา
1. ความหมายของเครื่องปั้นดินเผา
              ในสายตาของคนทั่วไปเครื่องปั้นดินเผาเป็นเพียงแค่ภาชนะต่างๆ ต่างเท่านั้น บ้างก็มองทางเชิงศิลป์ว่าเป็นของตกแต่งที่สวยงามหรือเป็นโบราณวัตถุที่ควรค่าต่อการเก็บรักษาเท่านั้น  แต่จริงๆ แล้วใช่ว่าจะมีเพียงความหมายเฉพาะที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากดินและหินที่ผ่านกรรมวิธีเผาให้คงทนแข็งแรง ซึ่งรวมไปถึงอุตสาหกรรมการทำแก้ว โลหะเคลือบ การทำซีเมนต์ ปูนขาวปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งนับว่ามีประโยชน์เช่นกัน
2. ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย
            ยุคหินกลาง  พบเครื่องปั้นดินเผาผิวเคลือบมีความเงาและเครื่องปั้นดินเผา ลายเชือกทาบ
            สมัยหินใหม่  พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบและลวดลายแปลกใหม่เพิ่มขึ้นทีมีทั้งลายเรียบๆ ธรรมดาไปจนถึงลายที่มีความวิจิตรงดงามมาก ภาชนะสมัยหินใหม่ตอนต้นมีจุดเด่นคือ มีที่รองรับถาวร บ้างก็เป็นขากลวง 3 ขา มีรูเจาะไว้ 3 รู เพื่อไล่อากาศ
            ยุคโลหะ  ในยุคนี้ได้ถือเอางานเครื่องปั้นดินเผาเป็นหัตถกรรมดั้งเดิม ที่ค่อยๆ วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีขึ้นเรื่อยๆ
            เครื่องปั้นดินเผาที่นิยมมากในวัฒนธรรมของซานคือ การทำลายเส้นขนาน ลายรูปสามเหลี่ยม ลายก้นขด ลายวงกลม ลายทแยง
            เครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดี  แบ่งออกเป็น 6 ระยะดังนี้
            ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ
            ระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เป็นแบบเรียบสีแดง
            ระยะที่ 3 ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เก่าแก่ที่สุดที่ ต. จันเสน พยุหะคีรี พบวัตถุชิ้นเล็กๆ 2 ชิ้นเคลือบสีน้ำตาลอมเขียวเนื้อแกร่ง นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นดินเผาอื่นที่เนื้อแกร่งและสีมัน สวยงามมาก
            ระยะที่ 4 ได้พบเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น แสดงว่า ต.จันเสน ไม่ใช่หมู่บ้านเล็กๆ แล้ว
            ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นผู้ชาย เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้แบ่งเป็น 2 แบบคือ
                        แบบที่ 1 : พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายต่างๆ ประทับอยู่ เช่น ลายช้าง    หงส์ วัวและนักรบ
                        แบบที่ 2 : พบไหปากผาย รอบปากสีแดงและขาว
            ระยะที่ 6 พบเครื่องปั้นดินเผาเพียง 2 – 3  แบบ แต่ดูเหมือนว่าจะเผาในเตาอย่างแท้จริง ไม่ได้เผากลางแจ้งเหมือนแต่ก่อน แม้ว่าจะไม่ได้เผาเคลือบแต่ก็เผาได้อย่างสม่ำเสมอและแข็งดี
            เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย  พบเครื่องปั้นดินเผาในบริเวณสนามบิน
            เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี  ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล (ไทยขอม) เป็นทั้งรูปคนและสัตว์ และเครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาลและน้ำเงินอ่อนคล้ายสังคโลก
              เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน  ยุคนี้สามารถทำเคลือบได้หลายชนิด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความคิดระหว่างไทยกับจีน
           เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าสังคโลก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม สีของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กามีสีน้ำตาลบ้างประปราย อีกทั้งยังพบเตาเผาถึง 49 เตา ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัยได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม


เครื่องปั้นดินเผา



 










เครื่องปั้นดินเผานั้นพบหลักฐานการทำอยู่ทั่วไปประเทศไทยส่วนในจังหวัดเชียงใหม่ ของเรานั้นก็ได้มีการค้นพบถ้วยชนิดหนึ่งเคลือบ ในเขตตำบลออนใต้ อำสันกำแพง บริเวณหมู่บ้านป่าตึงและกิ่งย่าแดง และเมื่อมีการสำรวจบริเวณดังกล่าวได้พบในพื้นที่ราบ และขุดเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นโพรงหรืออุโมงค์ ตามเนินเขาหรือฝั่งแม่น้ำ เตาเผามีจำนวนถึง 83 แห่งลักษณะเตาเผาที่พบเป็นการขุดเป็นหลุมแล้วก่ออิฐปิดเป็นผาหลุมข้างบนนั้นไม่เคลือบปากและก้นถ้วย เมื่อเวลาเผาใช้วิธีวางปากถ้วยบนปากถ้วยและก้นุ้วยซ้อนกันและปล่อยให้เปลวไฟแล่นผ่านจนน้ำเคลือบละลาย
 สิ่งที่พบส่วนใหญ่เป็น จาน ชาม ขวด ไห ขนาดต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอายุสมัยรัชวงศ์มังราย ( พ.ศ. 1984 - 2101 ) นอกจากนี้ยังค้นพบเครื่องถ้วยถ้วยในบริเวณเชิงเขาดอยโท้งผาอ่าง ตำบลศรีงาม อำเภอสันทราย ซึ่งนายจองยี นายคำทร และนายจองคำ ชาวไทยใหญ่มาตั้งเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบสีเขียว ( ศิลาดอล ) ประมาณ 70 ปีมาแล้ว
ดังนั้นเครื่องปั้นดินเผาทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตั้งของเตาเผา ว่ามีลักษณะเนื้อดินที่ใช้ในการปั้นนั้นอยู่ในลักษณะใด รวมทั้งฝีมือการปั้นของช่างปั้นในแต่ละท้องที่ด้วย ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องปั้นดินเผาชนิดไม่เคลือบ เพราะประเภทของเครื่องปั้นดินเผาลักษณะนี้ ชาวบ้านยังนิยมทำกันอยู่และคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตบริเวณบ้านเหมืองกุงตำบลหนองควาย ตำบลหนองแก้ว บ้านกวน บ้านไร่ บ้านหม้อ ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง เป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิดไม่เคลือบ


เครื่องปั้นดินเผาหัตถกรรมพื้นบ้าน

หัตกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่ได้ทำกันในท้องที่ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น ในเขต อ.หางดง อ.สันกำแพง เป็นต้นนั้น ช่างหัตถกรรมของหมู่บ้านมักจะประสบปัญหาต่าง ๆ ใกล้เคียงกันกล่าวคือ ปัญหาเรื่องดินที่นำมาใช้นั้นไม่ดี ซึ่งทำให้หม้อดินที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพต่ำ ร่วนและยุ่ยเมื่อถูกน้ำทำให้อายุการใช้งานสั้น ชุมชนหัตถกรรมปั้นดินเผาจึงต้องหาซื้อจากหมู่บ้านอื่นมาทำ ในอดีตบางท้องที่ก็ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น เอาพริกแห้ง ยาสูบ หมาก ข้าวเปลือก ด้วยวิธีการที่แล้ว แต่จะตกลงกัน บางทีก็เอาหม้อดินไปจำหน่ายยังท้องที่ไกล
แต่ในปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบการผลิตและวิธีการรวมทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาจนเครื่องปั้นดินเผาของหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเป็นที่เลื่องลือในหมู่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ

น้ำต้นหัตถกรรมของกลุ่มชาวเงี้ยว

น้ำต้นหรือคนโทดินเผาของชาวล้านนานั้นถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องอยู่ในวิถีชีวิตของชาวล้านนา เป็นอย่างมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่าน้ำต้นนั้นเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม อย่างหนึ่งของชาวลานนา เนื่องจากว่าชาวล้านนาได้มีการใช้น้ำต้นอย่างแพร่หลายในแทบทุกครัวเรือน น้ำต้นนอกจากจะเป็นภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุน้ำดื่มแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของภาชนะใส่ดอกไม้ในแท่นบูชาและในพิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนเป็นเครื่องประกอบยศของชนชั้นสูงอีกด้วยเรื่องราวของน้ำต้นมีการศึกษาว่ามีการผลิตใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในดินแดนล้านนาในทุกวันนี้เป็นงานศิลปหัตุกรรมยุคหลังที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับน้ำต้นของล้านนายุคต้น ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมครั้งใหญ่ในล้านนา  ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
น้ำต้นที่มีการผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้และซื้อขายกันอยู่ในดินแดนล้านนาที่สืบทอดต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ เดิมทีชาวพื้นเมืองโดยทั่วไปจะเรียกว่า " น้ำต้นเงี้ยว" เหตุที่เรียกกันเช่นนี้ก็เพราะว่า กลุ่มคนที่ทำน้ำต้นเหล่านั้นเป็นชาวเงี้ยว หรือไทยใหญ่ ซึ่งจะมีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่บ้านเหมืองกุง บ้านขุนแส เขตอำเภอหางดงและบ้านน้ำต้น อ. สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ จากการสอบถามชาวบ้านโดยเฉพาะผู้สูงอายุภายในหมู่บ้านต่างๆเหล่านี้ต่างยืนยันว่าบรรพชนของตน เป็นชาวเงี้ยวที่ถูกกวาดต้อนและอพยพมาจากเมืองปุและเมืองสาด ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบริเวณฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำสาละวินในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า โดยเฉพาะที่บ้านน้ำต้นนั้นได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ถูกกวาดต้อนมาในช่วงสมัยเจ้าชีวิตอ้าวหรือพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
จากการตรวจสอบทางเอกสาร พบว่าในช่างเลาของการฟื่นฟูล้านนานั้นได้ปรากฎชื่อเมืองปุและเมืองสาด ถูกกองทัพเชียงใหม่ไปตีและกวาดต้อนไพรมาใส่เมืองเชียงใหม่หลายครั้งโดยเฉพสะในสมัยของพระเจ้ากาวิละนั้น ได้มีการไปตีเมืองทั้งสองหลายครั้งและในสมัยพระยาพุทธวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 4 ได้ไหตีอีกหนึ่งครั้ง โดยในครั้งนั้นมีรายละเอียดปรากฏในเอกสารค่อนข้างชัดเจน ( พระยาประชากิจกรจักร์แช่ม บุนนาค พงศาวดารโยนก สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร พรนะนคร:โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, หน้า 524-525. )
การผลิตน้ำต้นและเครื่องปั้นดินเผาในสายสกุลช่างดังกล่าวนี้มิได้มีแหล่งผลิตอยู่เฉพาะแต่ในกลุ่มหมู่บ้าน ในเขตอำเภอหางดงและอำเภอสันป่าตอง ดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้นยังมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในลักษณะดังกล่าวน ี้อยู่ในเขตภาคเหนือตอนลนอีกสองแห่งคือ ที่บ้านบ่อแฮ่ว อ. เมือง จ.ลำปาง และบ้านโป่งทวี อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ซึ่งชาวบ้านของทั้งสองหมู่บ้านนั้นไม่ใช่ชาวเงี้ยวแต่ได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากกลุ่มชาวเงี้ยวในเมืองเชียงใหม่ ไปผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ได้จากแหล่งผลิตในเขตจังหวัดเชียงใหม่จะมีคุณภาพและการพัฒนารูปทรงได้ดีกว่า ที่ผลิตจากแหล่งอื่น ๆ ดังนั้นจึงทำให้เครื่องปั้นดินเผาทีผลิตจากเชียงใหม่โดยเฉพาะที่บ้านเหมืองกุงได้รับความนิยม และเป็นสินค้าที่ส่งไปขายเกือบทั่วภาคเหนือจนทำให้แหล่งผลิตอื่น ๆ ทั้งที่บ้านน้ำต้น บ้านบ่อแฮ้ว และบ้านโป่งทวีมีการผลิต น้อยลงเหลืออยู่เพียงไม่มากรายนัก
น้ำต้นที่ผลิตขึ้นโดยกลุ่มชาวเงี้ยวในหมู่บ้านต่างๆ ที่สืบทอดมาจนทุกวันนี้โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเครื่องปั้นดินเผา ที่ใช้อุณหภูมิในการเผาไม่สูงนัก เนื้อหยาบหนาและมีรูพรุนค่อนข้างมาก ผิวมีการทาน้ำดินข้น และขัดผิวให้มันเพื่อกันน้ำให้ซึม ออกมาได้น้อยลง มีการประดับตกแต่งผิวภายนอกภาชนะอย่างสวยงามด้วยลวดบายต่าง ๆ ที่เกิดจากการขูดขีดแกะลาย พิมพ์หรือกดลาย และการปั้นลายส่วนรูปทรงของน้ำต้นนั้นจะมีหลายแบบแต่อาจแบ่งอย่างกว้างๆได้ แบบคือ แบบหัวแดง แบบทรงสูง แบบคอคอดปากบาน แบบน้ำต้นแม่วาง ( สันป่าตอง) แบบทรงอ้วน แบบยาวกลีบมะเฟือง แบบทรงขวด แบน้ำเต้า เป็นต้น สำหรับสีของผิวนอกน้ำต้นนั้นจะมีทั้งดำ เหลือง และแดงซึ่งจะแตกต่างกันไปตามกระบวนการผลิต
อย่างไรก็ตามผลิตภัณท์น้ำต้นนั้นมีหลักฐานการขุดค้นพบน้ำต้นตามโบราณสถานต่างๆ ได้พบว่าน้ำต้นนั้นเป็นเครื่องปั้นดินเผาล้านนาดั้งเดิมโดยเป็นเครื่งปั้นดินเผาไฟต่ำ ที่มีเทคนิคการปั้นที่ละเอียดงดงาม กล่าวคือ ดินที่ใช้ในการปั้นเนื้อละเอียด ผิวบาง มีการทาผิวด้วยน้ำดินข้น และประดับตกแต่งบนผิวภาชนะด้วยการเขียนลวดลาย ด้วยเส้นสีดำ สีขาว และสีแดงอย่างงดงาม ส่วนรูปทรงนั้นไม่มีรูปแบบมาก ส่วนมากจะเป็นรูปแบบตัวกลมคอตรงสูงและแบบน้ำเต้า เดิมทีก่อนหน้านี้เคยมีการกำหนดอายุและรายละเอียดชื่อน้ำต้นในรูปแบบนี้ว่าเป็นน้ำต้นในลักษณะนี้ว่าเป็นน้ำต้นสมัยหริปุญชัย
เรื่องของน้ำต้นนี้นหากได้มีการศึกษาถึงพัฒนาการความเป็นมาและรายละเอียดของรูปทรง ตลอดจนลวดลาบการประดับตกแต่งแล้วนับได้ว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย ตัวน้ำต้นเองทั้งที่เป็นน้ำต้นสมัยล้านนายุคต้นและ ล้านนายุคหลังนั้นจัดเป็นงานศิลปกรรมที่มีรูปแบบหลากหลาย มีลวดลายที่งดงามและสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของ มนุษผู้ลิตตัวมันขึ้นมาได้เป็นอย่างดีด้วยเหตนี้คุณค่าของน้ำต้นจึงมิได้อยู่ที่การมำหน้าที่บรรจุและใช้สอยเกี่ยวข้องกับชีวิต ของชาวล้านนาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบรรพชนผู้ทำหน้าที่ปลิตตัวนั้นนั่นเองที่ถือว่า ได้ช่วยเพิ่มคุณค่าและเกียรติภูมิของน้ำต้นให้สูงขึ้น

ศิลาดล





















ศิลาดลเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ความร้อนสูง เคลือบด้วยขี้เถ้าไม้ผสมดินหน้านาทำให้เคลือบเป็นสีเขียวเหมือนหยก เป็นการเคลือบธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ศิลาดล ( celadon ) หรือเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาที่เคลือบด้วยวัสดุธรรมชาติมีลักษณะเป็นเคลือบใสสีเขียวหยกมองทะลุเนื้อดินได้ ผิวเคลือบจะราน ( แตกลายงา crack ) สีเขียวที่เกิดขึ้นทำได้โดยการทำไม้ก่อไม้รกฟ้ามาเผาเอาขี้เถ้า แล้วนำมาผสมกับดินหน้าผิวนาแล้วเผาเคลือบด้วยวิธี ลดออกซิเจน ( reducing ) เผาความร้อนสูงประมาณ 1,2060-1,300 องศาเซลเซียส
ซิลาดลหรือสังคโลก มาจากคำภาษอังกฤษสันสกฤตคำว่า " ศิลา " แปลว่าหิน " ดล " แปลว่าเขียว รวมกันแปลว่าหินสีเขียว เป็นผลงานความพยายามของมนุษย์ที่จะเลียนแบบหยกในธรรมชาติ โดยที่หยกได้รับความนิยมว่าเป็๋นหินที่ได้รับความนิยมว่าเป็นหินธรรมชาติที่แข็งแกร่งสวยงาม และนำโชคลาภมาให้ " ศิลาดล"ทำขึ้นโดยวัสดุธรรมชาติล้วนๆไม่มีสารเคมีใด ๆ เจือปนจึงได้รับยกย่องว่ามีความปลอดภัยสูงจึงใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร "ศิลาดล"มักตกแต่งให้สวยงามโดยการขูดแกะสลักเซาะร่องหรือ กด ประทับ ก่อนที่จะเคลือบ
ขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภท "ศิลาดล"
การเตรียมดินโดยการย่อยบดให้ละเอียดแล้วนำมาร่อนเพื่อให้แน่ใจว่าดินที่ได้ เป็นดินที่มีคุณภาพจริง ๆ
นำดินที่ได้จากขั้นตอนที่หนึ่ง ไหผสมน้ำล้าให้สะอาดไม่ให้มีเศษขี้เหล็กหรือวัตถุอื่นใดปะปนอยู่แล้วนำไปใส่ในเครื่องอัดดิน เพื่ออัดเอาน้ำในดินออกให้เหลือดินเป็นแผ่น ๆ
หลังจากผ่านเครื่องอัดดินแล้วจะต้องทิ้งไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกชั่วครู่เพื่อให้อินทรีย์สารในดินนั้นเกิดการรวมตัว
นำดินที่ได้จากขั้นตอนที่ มานวดเพื่อไล่ฟองอากาศ
นำดินที่ได้จากขั้นที่ มาขึ้นรูปบนแป้นหมุน ( การปั้นเป็นภาชนะต่าง ๆ )
หลังจากขึ้นรูปเรียบร้อยแล้ว ต้องปล่อยให้ชิ้นงานนั้นแห้งตามธรรมชาติ
นำชิ้นงานที่ได้นั้นมารแกะสลักตามที่เราต้องการ ( แกะเนื้อดิน )
นำชิ้นงานนั้นไปเผาในเตาเผา ซึ่งมีอุณหภูมิ ประมาณ 800 องศาเซลเซียสหรือที่เรียกว่า " บิสกิ๊ต"( BISCGUE FIRED ) ซึ่งสามารถโดนน้ำได้ ขั้นตอนนี้หลังจากเผาเสร็จจะต้องเข็งครอบร้าวหรือความลกพร่องต่าง ๆ
นำชิ้นงาน ( "บิสนกิ๊ต " ) ที่ผ่านการตรวจเช็คคุณภาพแล้วไปตกแต่งเขียนลายตามที่ต้องการก่อนนำไปเคลือลด้วยน้ำเคลือบที่มีส่วนผสม ของดินหน้านา และผสมกับขี้เถ้าไม้ก่อไม้รกฟ้า หลังจากนั้นจุ่มในน้ำเคลือบแล้วทิ้งไว้ให้แหงแล้วตกแต่งเครือบให้ละเอียด
นำไปเผาในเตาเผาซึ่งใช้อุณหภูมิประมาณ 1260-1300 องศาเซลเซียส
ลักษณะเด่นของ ลาดล"
มีสีเขียวหยก เกิดจากการที่นำเอาไม้ก่อ ไม้รกฟ้า มาเผาเอาขี้เถ้า แล้วนำมาผสมกับดินหน้านาเป็นน้ำเคลือบแล้วเผาด้วยความร้อนสูง แล้วทิ้งให้เย็นตัวจะเกิดเป็นสีเขียว
มีรอยจราน หรือ แตกลายงา หรือ crack บนตัวเคลือบ ซึ่งเกิดจากการหดตัวของเนื้อดินกับน้ำเคลือบเมื่อเย็นตัวลงซึ่งเป็นลักษณะเด่นเป็นหนึ่งของศิลากดล ทำให้ดูสวยงามยิ่งนัก
ศิลาดลเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความชำนาญของช่างแต่ละคนทำให้ดูเป็นสิ่งมีค่าเป็นที่น่าดึงดูดใจในตัวมันเอง
เผาด้วยความร้อนสูง ถึง 1260 - 1300 องศาเซลเซียส
ไม่มีสารเคมีเจือปนจึงได้รับการยกย่องในด้านความงามปลอดภัยสูงสุด ใช้เป็นภาชะใส่อาหาร
สามรถใช้ได้กับทั้งเป็นพวกตกแต่งบ้าน และใช้ในชีวิตประจำวันเช่น ชุดอาหาร และวัยสารมารใช้ในเตาอบไมโครเวฟได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะไม่มีสารเคมีใด ๆ อยู่ในกระบวนการผลิตเลย
 
วิธีการทำเครื่องปั้นดินเผา
1.     วัตถุดิบ คือ ดินซึ่งได้จากท้องนา การสังเกตดินที่ดีคือ ต้องมีสีดำเป็นมันเลื่อม และหน้าแล้งจะแตก ท้องนาบางแห่งต้องขุดเอาหน้าดินออกก่อนชั้นต่อไปจึงใช้ได้
2.     การเตรียมดิน นำดินมาททุบให้เป็นก้อนเล็ก ๆ นำไปตากแดดให้แห้งเอามาทุบให้ละเอียดใส่ลงเป๊าะ ( ตะกร้า ) นำไปแช่น้ำในหลุมที่ทำไว้โดยแช่ไว้ คืน ตอนเช้าก็เอามานวดผสมทราย อันราส่วนประมาณดินส่วนต่อทราย ส่วน
3.     การขึ้นรูปและการปั้นหม้อดินเผา วิธีการขึ้นรูปจะกดดินเป็นแผ่นกลมแบนเป็นส่วนก้นหม้อวางบนแป้นไม้ ทำการปั้นบนตอไม้ที่ฝังแน่นหรือภาชนะที่สูงขนาดแทนตอไม้ได้ แล้วปั้นดินเหนียวให้กลมยาวนำมาวางเป็นวงกลมบนส่วนก้นหม้อ ใช้มือบีบดินวงกลมให้เป็ทรงกระบอกใช้ไม้สำหรับตบแต่งกับมือขึ้นรูปหม้อต่อไป
การขึ้นรูปและปั้นจะวางชิ้นงานไว้บนตอไม้และปั้นโดยการเดินรอบตอไม้แทนการใช้แป้นหมุน ดังจะลำดับขั้นตอนการปั้นหม้อดินเผาดังนี้
1.       ก่อปาก เป็นการขึ้นรูปครั้งแรก ต่อจากการทำก้นหม้อ เป็นรูปแบนวงกลมต่อไปก่อขอบดินกลมยาวที่คลึงให้เป็นลักษณะ แท่งนำมาก่อขึ้นรูป ขั้นตอนนี้จะต้องเดินหมุนรอบตอไม้แทนแป้นหมุนจนเป็นรูปทรงกระบอก แล้วแต่งให้กลมเรียบมีปากหม้อเพียงส่วนเดียวที่มองเป็นว่าเป็นปากหม้อดิน ทำลักษณะนี้ทุกใบจนดินที่ตรียมไว้หมด ผึ่งลมไว้ในที่ร่ม
2.     ไหลไหลปากหม้อ ใช้หินกลมรองข้างในใช้ไม้ตีข้างนอกให้ได้รูปหม้อส่วนบน แล้วตีด้วยไม้ทำลายแล้วนำไปผึ่งลม นำกลับมาทำเกลียวลายนูนด้วยดินเส้นกลมนำไปผึ่งลมอีกครั้งหนึ่ง
3.     ไห่ก้น ใช้หินรองข้างในใช้ไม้ตีข้างนอกให้ก้นหม้อเป็นรูปกลม ขั้นตอนนี้ถ้าเป็นหม้อต่อม หม้อสาว หม้อแก๋ง หม้อแก๋งแลว หม้อต้ม หม้อน้ำป๋วย จะเสร็จสมบูรณ์ในขั้นตอนตี้แต่ถ้าเป็นการปั้นหม้อน้ำดอก ผึ่งลมต่อไปเพื่อทำขั้นตอนนี้แต่ถ้าเป็นการปั้นหม้อน้ำดอก ผึ่งลมต่อไปเพื่อทำขั้นต่อไป คือ ติด ส่วนก้น โดยเอาดินติดส่วนก้นทำเป็นฐานสำหรับตั้งหม้อน้ำดอก ก็เสร็จเป็นหม้อดินเผา ( หม้อน้ำดอก ) ใบ
อนึ่งการปั้นหม้อดินในแต่ละอย่างนั้น จะต้องทำทีละใบ ซึ่งจะใช้เวลามาก
·       การย้อม
สีในระยะช่วงผระมาณ พ.ศ. 2490 - 2500มีการนำเอาดิน สีแดงมาละลายน้ำแล้วทาหม้อดินให้เป็นสีแดง เพื่อความสวยงาม ปัจจุบันใช้ดินจากอำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งมีสีแดงเข้มมากกว่าที่อื่น
·       การเผา
การเผาใช้ลานกว้างบริเวณบ้าน ก่อนจะเผาต้องเอาหม้อดินตากแดดให้ร้อนเสียก่อน หากวันไหนไม่มีแดดก็เผาไม่ได้ ใช้เศษหม้อดินเผาที่แตกรองพื้นดินเผาที่แตกรองพื้นดิน เอาหม้อดินลงเรียง ซอนกันแล้วเอาไม้และฟาง ปกคลุมให้ครอบคลุมหม้อดินเผาให้หมด แล้วคลุมด้วยไม้และฟาง ปกคลุมให้ครอบคลุมหม้อดินเผาให้หมด แล้วคลุมด้วยขี้เถ้าเสร็จแล้วจุดไฟตรงขอบที่ติดดินรอบ ๆ กอง
บทสรุป
หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาชนิดไม่เคลือบนี้ ในแต่ละท้องที่จะมีการผลิตเฉพาะหม้อดินที่นำไปใช้สอยต่างกัน และแต่ละแห่งก็จะมีรูปแบบและการผลิตเป็นจองตนเอง เช่น บ้านเหมืองกุง มักจะมีการปั้นหม้อน้ำและน้ำต้น ซึ่งรูปรงของหม้อน้ำจะเป็นหม้อปากแคบกลางป่อง ก้นสอบ มีฝา ที่ไหล่หม้อจะทำเป็นลวดลาย ผิวหม้อน้ำทาเคลือบด้วยดินแดงขัดมัน ส่วนน้ำต้นเป็นคนโทคอยาว มีฝา และได้พัฒนารูปทรงตามความต้องการของตลาด เช่น หม้อก็อก หม้อกลีบมะเฟือง หม้อทรงมะยม ฯลฯ รวมทั้งขั้นตอนการผลิตเป็นแบบแป้นหมุน หรือบ้านหารแก้ว และบ้านกวน มักจะทำเป็นหม้อดินเผาประเภทเป็นภาชนะสำหรับหุงต้มอาหารพื้นบ้าน ขั้นตอนการผลิตจะไม่ใช้แป้นหมุน แต่จะใช้วิธีขึ้นรูปโดยวางชิ้นงานไว้บนตอไม้แล้วปั้นโดยการเดินรอบตอไม้ เป็นต้น อย่างไรก็ดีช่างปั้นดินเผาก็ได้พัฒนารูปแบบและลวดลาย ตลอดจนประเภทของภาชนะที่ได้ผลิตขึ้นนั้นให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าการปั้นหม้อดินเผาจะเป็นงานที่มีความละเอียดและมีขั้นตอนการทำมากมายก็ตาม แต่ก็มีปัญหาเรื่องผู้ที่จะสืบทอดวิชาช่างแขนงนี้เพราะคนหนุ่มสาวหันไปทำอาชีพอย่างอื่น คงเหลือแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่ยังคงผลิตเครื่องปั้นดินเผาอยู่อย่างเดิม



แหล่งเตาเผาบ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
 เป็นเตาเผาซึ่งมีพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี เมื่อประมาณ 700-800 ปี มาแล้วของลุ่มแม่น้ำท่าจีน ราวพุทธศตวรรษที่ 17 ถึง พุทธศตวรรษที่ 21 ผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งสีเทา เผาด้วยความร้อนสูงถึง 1,200 องศาเซลเซียส เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงส่งไปขายยังภูมิภาคต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบในเขตพื้นที่ตำบลสำพะเนียง คือ ไหเท้าช้างลายนักรบโบราณ ถือดาบและโล่ มีช้างศึกและม้าศึก สะท้อนให้เห็นถึงการศึกสงครามในสมัยโบราณ ลายดอกไม้ลายใบโพธิ์แบบต่าง ๆ ลายตัวอุ ลายเสมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา เครื่องหมายการบินไทยนั้นเป็นลายไทยที่มีมาแต่โบราณเพียงแต่ของเดิมเป็นรูปตั้งขึ้น
 







                 แหล่งเตาเผาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
อยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงพุทธศตวรรษที่ 21 เช่นกัน ผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่าเครื่องสังคโลกเป็นภาชนะเนื้อแกร่ง เคลือบสีเขียวไข่กา เผาด้วยความร้อนสูงถึง 1,280 องศาเซียลเซียส มีภาชนะประเภท ไห อ่าง ถ้วยชาม กระปุก และตุ๊กตารูปคน รูปสัตว์ เครื่องสังคโลกถือเป็นเครื่องปั้นดินเผาชั้นดี ทั้งด้านความคงทนและความสวยงาม มีชื่อเสียงแพร่หลาย ส่งไปขายยังที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับเครื่องปั้นดินเผาที่ ขุดพบตามแนวแม่น้ำลพบุรีสายเก่า บริเวณโรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์ และตลอดแนวแม่น้ำลพบุรีความยาวประมาณ กิโลเมตร ในเขตพื้นที่ตำบลสำพะเนียง อำเภอบ้านแพรก เขตติดต่ออำเภอมหาราช ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชามสังคโลก กระปุกสีเขียวไข่กา และที่เป็นเศษภาชนะจำนวนมาก

 





 







 แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
 สมัยพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 23 ศูนย์กลางของเตาเผาอยู่บริเวณวัดพระปรางค์ เป็นแหล่งเตาเผาที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ และการค้าสำเภาสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่ง ไม่เคลือบ มีตั้งแต่เนื้อละเอียดจนถึงเนื้อหยาบ สีแดงและสีเทาแกมชมพู ที่ขุดพบในเขตชุมชนโบราณบ้านแพรก เขตพื้นที่ตำบลบ้านแพรก และตำบลสำพะเนียง มีเป็นจำนวนมาก ประเภทภาชนะของใช้ภายในบ้าน เช่น ไหสี่หู โอ่ง อ่าง ครก กระปุก เต้าปูน หม้อทะนน ฝาหม้อชนิดโค้ง เป็นต้น นอกจากนี้แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยยังเป็นแหล่งผลิตท่อประปาดินเผาที่ใช้ที่วังนารายณ์ จังหวัดลพบุรี กระเบื้องดินเผามุงหลังคาและลูกปืนใหญ่ดินเผาที่ใช้ในสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยา

 






ตัวอย่างเศษกระเบื้องเคลือบสมัยต่างๆ มากมาย

 






เครื่องปั้นดินเผา

                ดินเหนียวเป็นดินชนิดหนึ่งที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมือง  ทั้งชนิดเคลือบและชนิดไม่เคลือบ เช่นกระถาง  หม้อดิน  โอ่ง  อิฐ  กระเบื้อง เป็นต้น  เมื่อเผาดินเหนียวแร่บางชนิดในดินจะแปรสภาพ และยึดดินไว้ด้วยกัน  สีของดินเผาก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย  ดินเหนียวที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งต่างๆ ให้สีไม่เหมือนกัน  เช่น  ดินเหนียวเกาลิน จากลำปาง  จะให้เครื่องปั้นดินเผาเป็นสีขาว    ดินเหนียวจากราชบุรีให้ สีแดง   ดินเหนียวขากด่านเกวียนให้สีเหลือง  น้ำตาลอมม่วง หรือน้ำเงิน 
1.  การสร้างเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ  มีหลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอยู่  4  ประการ  ได้แก่
                                1.1  ให้ได้อุณหภูมิในกำหนดเวลาและรักษาอุณหภูมิให้อยู่คงที่ได้ตามที่ต้องการ
1.2  ให้อุณหภูมิภายในส่วนต่างๆ ของเตาเผาได้ตามที่ต้องการ และเร่งความร้อนได้ตามส่วนต่างๆของเตาเผา
                                1.3  สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีของชิ้นงานในเตาเผา
                                1.4  เผาให้ได้อุณหภูมิสูงโดยใช้เชื้องเพลิงน้อย
2.  คำว่า  เซรามิกส์  หมายถึงนำสารอนินทรีย์  อโลหะ  สารประกอบ  จำพวกซิลิเกตออกไซด์  คาร์ไบด์
ไนไตรต์  ซัลไฟด์  และบอไรด์  ซึ่งผ่านขั้นตอนการผลิตหรือการหลอมรวมตัวกันที่อุณหภูมิสูง
3. อุตสาหกรรมเซรามิกส์  หมายถึง  อุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากการนำสารอนินทรีย์พวกดิน  หิน  แร่ มาใช้เป็นวัตถุดิบ  ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  โดยการใช้ความร้อน  ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเซรามิกส์มีหลายประเภท  ได้แก่
                                3.1  เครื่องปั้นดินผาและเครื่องเคลือบดินเผา
                                3.2  วัตถุทนไฟ  เช่นอิฐทนไฟ
                                3.3  แก้ว
                                3.4  ซีเมนต์
                                3.5  โลหะเคลือบ เช่นเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ
                                3.6  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ขัดหรือตัด เช่นกระดารทราย  หินขัด
                                3.7  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานอิเล็กโทรนิกส์  เช่น ฉนวนไฟฟ้าชนิดต่างๆ
                                3.8  ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ชนิดพิเศษ  เช่นกระดูกเทียม
4.  น้ำยาเคลือบ  เป็นสารประกอบของซิลิเกตเหมือนกับเนื้อดินปั้น  น้ำยาเคลือบชนิดที่ใส่ตะกั่วมีส่วนผสม สำคัญคือ ตะกั่วแดงหรือตะกั่วขาว  ตะกั่วที่ใส่ลงไปมีประโยชน์ช่วยทำให้น้ำยาเคลือบมีจุดหลอมเหลวต่ำ
หลอมละลายได้ง่าย  เนื้อเคลือบเป็นมันวาว  เรียบ  สวยงาม  ไม่เปลืองค่าแรงงาน  ส่วนมากใช้เคลือบ ผลิตภัณฑ์พวกแจกัน  ตุ๊กตา  ที่เขี่ยบุหรี่  หรือพวกกระเบื้องต่างๆ  ไม่เหมาะที่จะใช้เคลือบภาชนะที่ใส่ของสำหรับบริโภค  เพราะตะกั่วในเนื้อเคลือบของภาชนะ  ซึ่งอาจมีโอกาสปนเปื้อนในอาหาร  ในขณะที่นำไปใส่อาหารที่เปรี้ยวจัด หรือเค็มจัดเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
5.  การที่ร่างกายได้รับสารที่มีตะกั่วเป็นส่วนประกอบสะสมไว้เป็นเวลานาน ทีละเล็กละน้อย  อาจทำให้ เกิด โรคตะกั่วเป็นพิษขึ้น  ซึ่งตะกั่วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในร่างกาย   ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงขาดฮีโมโกลบิน  เซลล์สมองถูกทำลาย อาจจะก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง  ตาบอด เป็นอัมพาต หรือมีความเสื่อมทางจิตหรืออาจตายได้  นอกจากนี้ตะกั่วยังทำให้เกิดผลร้ายต่อการตั้งครรภ์  การเจริญ
เติบโตของทารกในครรภ์ ตลอดจนเซลล์สืบพันธุ์ทั้งของเพศชายและเพศหญิง

แหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา

แหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา มีอยู่หลายแห่ง  เช่น
                ดินขาว                   -  ลำปาง  สุโขทัย  สวรรคโลก  ชลบุรี
                ดินเหนียว             -  ปทุมธานี  นนทบุรี  ราชบุรี  นครราชสีมา
                ควอรตซ์                -  เชียงใหม่  กำแพงเพชร  ลพบุรี  ปราจีนบุรี  จันทบุรี  ระยอง
                เฟลด์สปาร์            -  เชียงใหม่  ชลบุรี  กาญจนบุรี  ราชบุรี  นครศรีธรรมราช

ประเภทของผลิตภัณฑ์และอุณหภูมิเตาเผา

             ประเภทของผลิตภัณฑ์
              อุณหภูมิเตาเผา  ( C )
1.  เนื้อทึบ พื้นผิวหยาบขรุขระ มีความพรุน
ดูดความชื้น  และน้ำซึมได้
2.  เนื้อหนาเนียนละเอียด ทึบแสง ผิวเป็นมัน
น้ำซึมไม่ได้
3.  เนื้อบางแน่นเนียนละเอียด สีขาว ผิวเป็น
มัน  เห็นโปร่งแสง  น้ำซึมไม่ได้
1,000  1,180

1,250  1,300

1,300  ขึ้นไป
               
อิฐทนไฟ  ทำจากดินเหนียวที่มีปริมาณของอะลูมิเนียมออกไซด์สูง  อาจมีส่วนผสมของแร่โครไมท์  แร่ไพโรฟิลไรท์  เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทนความร้อนได้สูง ( สูงกว่า 1482  C )   มีความแข็งแรง เป็นฉนวนและทนทานต่อการกัดกร่อนใช้ทำเตาเผา   เตาหลอมเหล็ก

สีของเครื่องปั้นดินเผา
สีของเครื่องปั้นดินเผาที่เกิดจากส่วนผสมของโลหะออกไซด์ชนิดต่างๆ
               ออกไซด์ของโลหะ
        สีของเครื่องปั้นดินเผา
โคบอลต์
โครเมียม
เหล็ก
ทองแดง
แมงกานีส
โครเมียมกับดีบุก
พลวงกับตะกั่ว
น้ำเงิน
เขียวอมน้ำเหลือง-น้ำตาล
น้ำตาลค่อนข้างแดง
เขียวสด เขียวใบไม้
น้ำตาล
ชมพู
เหลือง

ความเป็นมา

                การประกอบอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาหรืออุตสาหกรรมเซรามิกส์ถ้าจะให้ได้ผลดีจะต้องอาศัยหลักวิชาการและเทคโนโลยีเข้าร่วมประกอบกับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ การพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิกซ์ด้านวิชาการและเทคโนโลยีในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน มีส่วนช่วยเป็นอันมากในปี พ.ศ.2478 กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เริ่มดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา ต่อมาในปี พ.ศ.2479 ได้มีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา โดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปรับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในต่างประเทศและกลับมาพัฒนาบุคลากรของกรมด้านวิชาการและเทคโนโลยีและได้ทำการศึกษาวิจัยวัตถุดิบ โดยการสำรวจ วิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบภายในประเทศ เช่น ดินและหินชนิดต่างที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผลจากการสำรวจและการวิเคราะห์วิจัยพบว่า ประเทศไทยมีวัตถุดิบชนิดดีปริมาณมาก สามารถใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดดีได้ เป็นผลให้มีการลงทุนสร้างโรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นอีกมากในปี พ.ศ.2503 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ได้ประกาศให้การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2503-พ.ศ.2508 จึงมีโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์เกิดขึ้น แห่ง ที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีกระเบื้องปูพื้น กระเบื้องบุผนัง กระเบื้องโมเสคและเครื่องสุขภัณฑ์
                การปั้นให้เป็นรูปต่างๆได้นั้น ต้องแล้วแต่ลักษณะของภาชนะหรือวัตถุประสงค์ที่จะปั้น ประกอบกับความเหนียวของเนื้อดินปั้น ความเหนียวของเนื้อดินปั้นขึ้นอยู่กับการผสมเนื้อดินปั้นกับน้ำ ซึ่งมีส่วนต่างๆกันและจำแนกออกเป็น ชนิด คือ
                1.ดินน้ำ (Slip) สำหรับใช้หล่อกับปูนปลาสเตอร์ เนื้อดินปั้นชนิดนี้ต้องผสมกับน้ำประมาณร้อยละ  24-30  เมื่อผสมแล้ว จะมีเนื้อเหลวเป็นน้ำข้นๆ เวลาปั้นต้องใช้ปูนปลาสเตอร์เป็นแบบสำหรับเครื่องปั้นที่มีเนื้อดินปั้นบาง ทำการปั้นด้วยวิธีอื่นๆไม่ได้ เช่น แจกัน ถ้วยกาแฟและเครื่องปั้นชนิดใหญ่ที่มีเนื้อดินปั้นหนามากๆ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น
                 2.ดินเหลว (Soft-mud) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำประมาณร้อยละ 18-24 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้ออ่อนเหลวไม่เหนียวมากนัก เวลาปั้นจะต้องมีแบบทำด้วยไม้โลหะหรือปูนปลาสเตอร์ เพื่อให้เนื้อดินปั้นอยู่ในที่อับ ตัวจะได้เกาะติดกัน เหมาะสำหรับเครื่องปั้นดินเผาจำนวนอิฐธรรมดา(Common brick) อิฐประดับ(Face brick)กระเบื้องมุงหลังคา เป็นต้น
                 3. ดินเหนียว (Stiff-mud) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำร้อยละ 14-20 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้อเหนียวมาก ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้ เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวกอิฐธรรมดา อิฐประดับ กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น
                4. ดินชื้น (Dry-press) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำประมาณร้อยละ 6-14 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้อร่วนชื้นเล็กน้อย เวลาปั้นต้องมีแบบทำด้วยโลหะและอัดให้เป็นรูปและเครื่องจักร ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวก กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องปูฝา อิฐประดับ เป็นต้น

 















การขึ้นรูป

                1. ปั้นวิธีอิสระหรือการปั้นด้วยมือ เป็นการปั้นให้มีรูปเหมือนของจริง หรือเป็นการปั้นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆด้วยมือ เป็นการปั้นที่ใช้ในการทำแม่แบบเพื่อนำไปทำแบบปูนปลาสเตอร์ มีเครื่องใช้ คือ ไม้สำหรับตีให้มีรูปกลม มีก้อนหินสำหรับรองรับภายใน
                2. ปั้นบนแป้นหมุน จะปั้นได้เฉพาะภาชนะที่มีรูปกลมหรือทรงกลม แบ่งออกเป็น อย่าง
                                2.1 ปั้นครั้งเดียวเสร็จ เป็นการปั้นของขนาดเล็ก เช่น แจกัน อ่าง กระถางหรือโถขนาดเล็ก
                                2.2  ปั้นสองตอนหรือสามตอน เป็นการปั้นของขนาดใหญ่ใช้วิธีปั้นตอนล่างก่อน ผึ่งให้หมาด ขดดินต่อขึ้นไปแล้วนำไปรีดบนแป้นหมุน นำไปผึ่งให้หมาดแล้วต่อขึ้นไปอีกตอนหนึ่ง ถ้าเป็นสามตอนแล้วจึงรีดบนแป้นหมุน ทำเป็นปาก เข่น การปั้นโอ่งเคลือบราชบุรี การปั้นแบบนี้ต้องมีการวัดส่วนสูงและความกว้างของปากและก้นเพื่อให้มีขนาดเท่ากัน แต่ถึงกระนั้นก็ดี ความหนาก็ยังแตกต่างกันอยู่

การตากแห้ง

                การตากแห้ง คือ การไล่น้ำออกจากของที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว การตากแห้งควรให้น้ำระเหยออกไปอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันการแตกร้าว ปริมาณของน้ำที่ใช้ในการขึ้นรูปต้องเหมาะสม
                การตากแห้งของแข็งที่มีขนาดแตกต่างกันทำได้ ดังนี้
                 1.ของใหญ่ ต้องปั้นในที่มิดชิด กันลมโกรกโดยมากทำหลังคาเกือบถึงพื้นและมีฝาปิดมิดชิด ของที่ปั้นเสร็จแล้วจะต้องคลุมเพื่อมิให้ถูกลมมากเกินไปในระยะหนึ่ง แล้วจึงเอาสิ่งที่คลุมออกผึ่งไว้ในร่ม 3-7 วัน จึงเอาออกตากแดดหรือนำไปวางข้างเตาเผา
                2. ของเล็ก ผึ่งลมในช่วงระยะหนึ่งแล้วเอาออกตากแดด
                3. การตากในแสงแดดควรจะหมุนให้ถูกแดดทั่วกันทุกด้านเพื่อกันแตกร้าว บิดเบี้ยว ของที่ตากแห้งสนิทแล้วจะทำให้ปริมาณการแตกเสียหายจากการเผาดิบลดน้อยลง
                4. ของที่ตากแห้งในเตาอบไฟฟ้า ความร้อนครั้งแรกไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส แล้วจึงค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าๆจนถึง 110 องศาเซลเซียส เพื่อให้แห้งสนิท








ประวัติความเป็นมา
ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ค้นพบเศษเครื่องถ้วยชนิดเคลือบในเขต ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง ในปี พ.ศ.2495 ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตร บริเวณหมู่บ้านป่าตึงและกิ่งย่าแดง และเมื่อมีการสำรวจบริเวณดังกล่าวได้พบในพื้นที่ราบ และขุดเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นโพรงหรืออุโมงค์ ตามเนินเขาหรือริมฝั่งแม่น้ำ เตาเผามีจำนวนถึง 83 แห่ง ลักษณะเตาที่พบเป็น การขุดเป็นหลุมแล้วก่ออิฐปิดเป็นผาหลุมข้างบน การเผาใช้ไฟแรงต่ำทำให้ผิวด้านน้ำเคลือบไม่ขึ้นมัน การชุบน้ำยาเคลือบนั้นไม่เคลือบปากและก้นถ้วย เมื่อเวลาเผาใช้วิธีวางปากถ้วยบนปากถ้วยและก้นถ้วยบนก้นถ้วย และปล่อยให้เปลวไฟแล่นผ่านจนน้ำเคลือบละลาย สิ่งที่พบส่วนใหญ่เป็นจาน ชาม ขวด ไห ขนาดต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอายุสมัยราชวงค์มังรายราวรัชสมัยพระจ้าติโลกราชจนสิ้นราชวงค์มังราย (พ.ศ.1984 - พ.ศ.2101) นอกจากนี้ยังค้นพบเครื่องถ้วยในบริเวณเชิงเขาดอยโท้งผาอ่าง ตำบลศรีงาม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณบ้านประตูช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนายจองยี นายคำทร และนายจองคำ ชาวไทยใหญ่มาตั้งเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบสีเชียว (ศิลาดล) ประมาณ 70 ปีมาแล้ว

คำอธิบายเพิ่มเติม
หม้อต่อม หมายถึง หม้อดินเผาสำหรับต้มยาสมุนไพร หรือใช้เก็บกระดูกคนตาย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 เซนติเมตร
หม้อสาว หมายถึง หม้อดินเผาสำหรับประกอบอาหาร มีขนาด 36 เซนติเมตร
หม้อแก๋ง หมายถึง หม้อสำหรับประกอบอาหารขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 26 - 27 เซนติเมตร
หม้อแก๋งแลว หมายถึง หม้อสำหรับแระกอบอาหารอีกชนิดหนึ่ง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 36 เซนติเมตร
หม้อต้ม หมายถึง หม้อดินเผาสำหรับต้มเหล้า มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร
หม้อน้ำป๋วย หมายถึง หม้อดินเผาสำหรับบรรจุน้ำ ไม่มีลวดลาย แต่ถ้ามีลวดลายเรียก หม้อน้ำดอก
ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา มีขั้นตอนดังนี้
1.วัตถุดิบ คือ ดินซึ่งได้จากท้องนา การสังเกตดินที่ดี คือ ต้องมีสีดำเป็นมันเลื่อม และหน้าแล้งจะแตก ท้องนาบางแห่งต้องขุดเอาหน้าดินออกก่อนขั้นต่อไปจึงใช้ได้ แต่ที่นาบางแห่งหน้าดินใช้ได้ เมื่อถางหญ้าหรือกอฟางออกแล้วก็ขุดไปใช้ได้เลย การขุดจะทำให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกเต๋ากว้าง ประมาณด้านละ 4นิ้ว - นิ้ว ดินที่ซื้อขายในอดีตขายเป็นเกวียนประมาณเกวียนละ 25 -30 ก้อน ราคาเกวียนละ 10 บาท ปัจจุบันจำนวนประมาณ 70 ก้อน ราคา 300 บาท
2.การเตรียมดิน นำดินมาทุบให้ละเอียดใส่ลงเป๊าะ (ตะกร้า) นำไปแช่นี้ในหลุมที่ทำไว้โดยแช่ไว้ คืน ตอนเช้าก็เอามานวดผสมทราย อัตราส่วนประมาณดิน ส่วนต่อทราย ส่วน
3.การขึ้นรูปและการปั้นหม้อดินเผา วิธีการขึ้นรูปจะกดดินเป็นแผ่นกลมเป็นส่วนก้นหม้อวางบนแป้นไม้ที่ผังแน่นม้อหรือพาชนะที่สูงขนาดแทนตอไม้ได้ แล้วปั้นดินเหนียวให้กลมยาวนำมาวางเป็นวงกลมบนส่วนก้นหม้อ ใช้มือบีบดินวงกลมให้เป็นทรงกระบอกใช้ไม้สำหรับตกแต่งกับมือขึ้นรูปหม้อต่อไป
การขึ้นรูปและปั้นจะวางชิ้นวางไว้บนตอไม้แล้วปั้นโดยการเดินรอบตอไม้ แทนการใช้แป้นหมุน ดังจะลำดับขั้นตอนการปั้นหม้อดินเผาดังนี้
3.1.ก่อปาก เป็นการขึ้นรูปครั้งแรก ต่อจากการทำก้นหม้อ เป็นรูปแบนวงกลมต่อไปก่อขอบดินกลมยาวที่คลึงให้เป็นลักษณะแท่งนำมาก่อขึ้นรูป ขั้นตอนนี้จะต้องเดินหมุนรอบติไม้แทนแป้นหมุนจะเป็นรูปทรงกระบอก แล้วแต่งให้กลมเรียบมีปากหม้อเพียงส่วนเดียวที่มองเห็นว่าเป็นปกหหม้อดิน ทำลักษณะนี้เหมือนกันทุกใบจนหมด แล้วผึ่งลมไว้ในที่ร่ม
3.2.ไห่ไหล่ปากหม้อ ให้หินกลมรองข้างในใช้ไม้ตีข้างนอกให้ได้รูปหม้อส่วนบน แล้วตีด้วยไม้ทำลายนำไปผึ่งลม นำกลับมาทำเกลียวลานนูนด้วยดินเส้นกลมนำไปผึ่งลมอีกครั้งหนึ่ง
3.3.ไห่ก้น ใช้กินรองข้างในใช้ไม้ตีข้างนอกให้ก้นหม้อเป็นรูปกลม ขั้นตอนนี้ถ้าปั้นหม้อต่อม หม้อสาว หม้อแกง หม้อแกงแลว หม้อต้น หม้อน้ำป๋อย จะเสร็จสมบูรณ์ในขั้นตอนนี้ แต่ถ้าเป็นการปั้นหม้อน้ำดอก ผึ่งลมต่อไปเพื่อทำขั้นตอนต่อไป คือ ติดส่วนก้น เอาดินติดส่วนก้นทำเป็นฐานสำหรับตั้งหม้อน้ำดอก ก็เสร็จเป็นหม้อดินเผา (หม้อน้ำดอก) 1 ใบ
4.การย้อมสี ในระยะช่วงประมาณ พ.ศ.2490 - 2500 มีการนำเอาดิน สีแดงมาละลายน้ำแล้วทาหม้อดินให้เป็นสีแดง เพื่อความสวยงาม ปัจจุบันใช้ดินจาอำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งมีสีแดงเข้มอยู่แล้วซึ่งใช้มากกว่าที่อื่น
5.การเผาใช้ลานกว้างบริเวณบ้าน ก่อนจะเผาจะต้องเอาหม้อดินตากแดดให้ร้อนเสียก่อน หากวันไหนไม่มีแดดก็เผาไม่ได้ ใช้เศษหมอดินเผาที่แตกรองพื้นดิน เอาหม้อดินลงเรียง ซ้อนกันแล้วเอาไม้และฟาง ปกคลุมให้ครอบคลุมหม้อดินเผาให้หมด แล้วคลุมด้วยขี้เถ้าเสร็จแล้วจุดไปตรงขอบที่ติดดินรอบ ๆ กอง

http://www.yupparaj.ac.th/web2001/st05/p1.htm



 

 

 








aaaaaaaaaa……………..aaaaaaaaaa